7 วิธีการนวดแก้นิ้วล็อค รักษาได้แบบไม่ต้องผ่าตัด
นิ้วล็อค คือ อาการที่เกิดจากความผิดปกติของปลอกเอ็นบริเวณฝ่ามือ ที่ยึดระหว่างกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีผลต่อการกำมือและเหยียดนิ้วของเรา โดยการติดขัดของปลอกเอ็น หรือการเกิดพังผืดที่เอ็น ส่งผลให้การใช้งานมือผิดปกติ และมีอาการเจ็บปวดเกิดขึ้น
ผู้ที่มีอาการ นิ้วล็อค จะเกิดความเจ็บปวดบริเวณโคนนิ้วต่างๆ และมีข้อจำกัดในการขยับนิ้วต่างๆด้วยเช่นกัน โดยในเบื้องต้นผู้ที่ปวดนิ้วล็อค รักษาได้โดยการนวดตั้งแต่อาการในช่วงเริ่มต้น หรือช่วงที่รู้สึกว่าเริ่มปวดมือและนิ้วช่วงเอ็นแล้ว
โดยทีมงานได้รวบรวมวิธีการนวดนิ้วล็อค รักษาได้ด้วยวิธีการนวดที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ (สำหรับผู้ที่พึ่งมีอาการปวด) ด้วยท่าบริหารนิ้วล็อค 7 ท่า ที่ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ โดยผู้ที่เป็นนิ้วล็อคหรือพึ่งมีอาการปวดนิ้วล็อคก็สามารถนำไปใข้ได้เช่นกันค่ะ
แต่ก่อนอื่นเลย เราขออธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับอาการนิ้วล็อคให้ทุกท่านได้ทราบชัดเจนก่อน โดยวิธีที่เราจะอธิบายจะเป็นการเปรียบเทียบแบบง่ายๆ เพื่อความเข้าใจของอาการนิ้วล็อค และการนวดแต่ละท่าว่าแก้ไขอาการปวดนิ้วล็อคได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรบ้าง
นิ้วล็อคคืออะไร
โดยธรรมชาติแล้ว มือของเราทุกคน มีเส้นเอ็นที่เป็นส่วนเชื่อมของกล้ามเนื้อและกระดูกของนิ้วแต่ละนิ้ว โดยเส้นเอ็นนั้นจะอยู่บริเวณฝ่ามือและแยกเป็นเอ็นเส้นย่อยๆในแต่ละนิ้ว โดยการยืดตัวและคลายตัวของเอ็น (เวลากำมือและเหยียดนิ้ว) เส้นเอ็นจะยืดหดผ่านโครงสร้างที่เรียกว่า ปลอกเอ็น
ภายในปลอกเอ็น มีคุณสมบัติเป็นเหมือน รอก ชนิดพิเศษที่ยึดเอ็นไว้ใกล้กับกระดูกข้อนิ้วต่างๆ (เส้นเอ็น เปรียบเสมือนเส้นรอก) ถ้าหงายมือดูจะอยู่บริเวณโคนนิ้วแต่ละนิ้ว เมื่อกล้ามเนื้อของปลายแขนหดตัว เส้นเอ็นจะเลื่อนผ่านรอก ทำให้นิ้วหัวแม่มือหรือนิ้วงอได้
นิ้วล็อค เป็นอาการที่เกิดจาก เส้นเอ็นนิ้วที่มีปัญหา ไม่สามารถเคลื่อนตัวผ่านปลอกเอ็นได้ เพราะเส้นเอ็นมีการจับตัวเป็นก้อนเกิดขึ้นที่ปลอกเอ็น ทำให้การกำนิ้วแล้ว ไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้
เปรียบเหมือนกับ การดึงเชือกผ่านรอกแล้ว ในขณะที่จะปล่อยเชือกกลับ เชือกดันไปพันกันเองที่รอก

นิ้วล็อค เกิดจาก
อ้างอิงข้อมูลจากสถาบัน American Academy of Orthopedic Surgeons: AAOS (https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases–conditions/trigger-finger) เหล่านักวิจัยยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แท้จริงของอาการนิ้วล็อคได้ ให้เป็นเพียงขอสังเกตว่า อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือการใช้งานมือหนักๆ โดยอาการปวดนิ้วล็อค สามารถพบได้ในกลุ่มคนที่เป็นโรครูมาตอยด์ ข้ออักเสบ เอ็นอักเสบ โรคเกาต์ โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ตัวเอง LSE ซึ่งโรคต่างๆเหล่านี้จะมีอาการข้างเคียงเกี่ยวกับการปวดตามกระดูกและข้อต่างๆในร่างกาย
นิ้วล็อค อาการ
อาการนิ้วล็อคจะทำให้รู้สึกเจ็บและระบมบริเวณนิ้วต่างๆ และโคนนิ้วต่างๆ ซึ่งรวมไปถึง ความไวต่อความรู้สึกสัมผัสต่างๆ การกำเหยียดมือติดขัด อาการปวดสะดุ้ง โดยอาการปวดนิ้วล็อค จะมีความคล้ายการปวดรูมาตอยด์คือ จะปวดมากที่สุดในช่วงตื่นนอนตอนเช้า
ท่าบริหารนิ้วล็อค
เหล่าแพทย์และนักกายภาพบำบัด ต่างแนะนำการบริหารมือแบบยืดกล้ามเนื้อด้วยท่าพื้นฐาน เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและความฝืดของการยืดหดของเอ็น โดยท่าต่างๆที่เราแนะนำในบทความนี้จะเป็น ท่าบริหารนิ้วล็อค โดยแนะนำให้ทุกท่านบริหารมือและนิ้ว 3-5 ครั้งต่อวัน เป็นศาสตร์ทางเลือกสำหรับรักษานิ้วล็อค
วิธีการนวดแก้นิ้วล็อค
ท่าที่ 1
เนื่องจากอาการ นิ้วล็อค เกิดจาก การทำงานผิดปกติของเอ็น ดังนั้นในท่าแรก จำเป็นที่จะต้องทำให้เส้นเอ็นในช่วงแขนนั้นคลายตัวลง ด้วยการหยิบเนื้อช่วงเอ็นแขน โดยเอ็นที่แขนนั้นจะมีเอ็นด้านหลังแขน (คว่ำแขน) และเอ็นหน้าแขน (หงายแขน) โดยวิธีนี้จะเปรียบเสมือนการวอร์มกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย แต่เป็นการวอร์มเอ็นเพื่อให้เอ็นยืดหยุ่นมากพอในการนวด

ท่าที่ 2
ท่านี้ยังคงเป็นการบริหารเอ็นช่วงแขนอยู่ โดยท่าที่สองนี้จะเริ่มบีบคลึงเอ็นช่วงแขน ใช้มือบีบเอ็นทั้งหลังแขนและหน้าแขน และให้ขยับมือและนิ้วข้างที่ถูกบีบไปพร้อมกันในลักษณะเกลี่ยนิ้วสลับไปมา

ท่าที่ 3
ท่านี้จะเริ่มไล่การบีบนวดเส้นเอ็นเข้ามาที่ข้อมือมากขึ้น (สังเกตว่าการนวดแก้นิ้วล็อคนั้นจะต้องค่อยๆเริ่มจากเอ็นมัดใหญ่ก่อนและค่อยๆไล่ไปถึงเอ็นเส้นที่ปวด) โดยบีบที่กลางหลังมือและหน้ามือ

ท่าที่ 4
ท่านี้เป็นท่าที่คนไข้จะรู้สึกโดนจุดและตรงใจมากที่สุด เพราะเป็นการนวดที่ปลอกเอ็นบริเวณฝ่ามือใกล้โคนนิ้วที่ปวด โดยให้เราใช้นิ้วโป้งมือข้างที่นวด กดไปที่โคนนิ้วแต่ละนิ้ว และใช้นิ้วอื่นๆของมือข้างที่นวด กำนิ้วที่นวดและดึงลง (เปรียบเหมือนว่า ให้ปลายนิ้วโป้งเป็นจุดหมุน การใช้นิ้วโป้งค้ำจะทำให้แรงที่นิ้วโป้งไปกดที่โคนนิ้วข้างที่ปวด รู้สึกตรงจุดมากขึ้น

ท่าที่ 5
ท่านี้เป็นการนวดที่กล้ามเนื้อข้างๆปลอกเอ็นแต่ละนิ้ว หรือพูดง่ายๆคือ การนวดช่วงมือระหว่างนิ้ว เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆเอ็นที่ติดขัดคลายตัวลง และช่วยให้เส้นเอ็นขยับยืดหดได้คล่องตัวยิ่งขึ้น

ท่าที่ 6
ท่านี้สำหรับท่านที่มีอาการนิ้วล็อคที่นิ้วโป้งเป็นพิเศษ โดยจะนวดช่วงโคนนิ้วโป้ง และการบีบช่วงระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง ยิ่งจะช่วยให้สบายมือขึ้น

ท่าที่ 7
เป็นการนวดทางเลือก กรณีที่เราใช้นิ้วกดจุดต่างๆแล้วรู้สึกเมื่อยล่า เราสามารถใช้วิธีการนวดโดยใช้สันกระดุกนิ้ว (ทำนิ้วงอๆเหมือนเป็นไม้ปลายแหลมๆ) นวดที่โคนนิ้วบริเวณปลอกเอ็นมือ

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการนวดแก้นิ้วล็อค สำหรับท่านที่เริ่มมีอาการปวดเอ็นและข้อนิ้วมือ สำหรับท่านที่เริ่มมีอาการระบมแล้ว ให้ท่านเริ่มนวดและบริหารมือและนิ้วได้แต่เนิ่นๆเลยค่ะ เพราะถ้าหากมีอาการปวดที่น่าจะเป็นอาการปวดนิ้วล็อค และปล่อยเอาไว้นานๆ อาการอาจทวีความรุนแรงมากขึ้น เอ็นอาจติดขัดจนเกิดพังผืด ไม่สามารถงอและเหยียดนิ้วได้ หรือมีอาการเจ็บมากๆจากการกำมือเหยียดมือค่ะ
ส่วนสำหรับท่านที่มีอาการนิ้วล็อคอยู่แล้ว เราแนะนำให้ทำการนวดเส้นเอ็นตั้งแต่แขนจนไปถึงมือบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3 ครั้งอย่างต่อเนื่องค่ะ และหากเป็นไปได้ พยายามหลีกเลี่ยงงานที่ใช้มือหนักๆ เช่น การซักผ้าขยี้ผ้าด้วยมือ การเขียนหนังสือเป็นเวลาติดต่อกันนานๆ
สำหรับท่านที่เป็นนิ้วล็อค และอยากหาตัวช่วยในการนวดแก้นิ้วล็อค เรามีผลิตภัณฑ์นวดรูปแบบใหม่ เครื่องนวดมือแก้นิ้วล็อค ที่สามารถช่วยนวดบรรเทาอาการปวดนิ้วล็อคได้ ด้วยเทคโนโลยีการนวดแบบใหม่ ผ่านการทดสอบการใช้งานจริงมาแล้ว และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศเยอรมัน สามารถกด คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดได้เลยค่ะ